กองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ชวนพนักงานและชาวไทย
ร่วมระดมทุนต้านภัยโควิด-19

By / 4 years ago / News / No Comments
กองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ชวนพนักงานและชาวไทย
ร่วมระดมทุนต้านภัยโควิด-19

กองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (Ford Motor Company Fund) หน่วยงานเพื่อสังคมของฟอร์ด เปิดตัวสองกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อให้พนักงานทั่วโลกและผู้ที่สนใจมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมแม้อยู่ที่บ้าน 

การระดมทุนร่วมกับพนักงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา เป็นความร่วมมือระหว่าง กองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี และการบริจาคทุนส่วนตัวของมร. บิล ฟอร์ด ประธานกรรมการบริหาร ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี เพื่อนำเงินบริจาคจำนวน 500,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 16.5 ล้านบาท) สมทบกับเงินบริจาคที่ได้รับตามจริงจากพนักงานฟอร์ดทั่วโลกและผู้ที่สนใจ รวมมูลค่าถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 33 ล้านบาท) มอบให้องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ได้รับการคัดเลือกจากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ร่วมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยเริ่มระดมทุนตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน ถึง 31 พฤษภาคม 2563  

ในประเทศไทย ฟอร์ดพร้อมร่วมมือกับสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (Population and Community Development Association หรือ PDA) ซึ่งเป็นองค์กรพันธมิตรกับฟอร์ดมายาวนาน นำรายได้จากการระดมทุนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้มีรายได้และช่วยเสริมทักษะอาชีพจากการทำหน้ากากผ้าและเจลล้างมือ เพื่อแจกจ่ายให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ทำงาน ณ จุดคัดกรองและควบคุมโรคในชุมชนที่ขาดแคลน ในจังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่น และบุรีรัมย์ พร้อมต่อยอดการสร้างอาชีพให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบอย่างยั่งยืนด้วยการอบรมอาชีพเกษตรแบบเร่งด่วนเพื่อจุนเจือการบริโภคในครัวเรือนและสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

The Ford Fund website (www.fordfund.org/covid19) offers information on volunteering and donating to nonprofit groups along with free online activities for those at home during the COVID-19 pandemic, while the Fund’s new “Read and Record” virtual volunteering project lets employees record and submit videos reading children’s books in their own language.

นอกจากนี้ กองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ยังได้เปิดตัวโครงการ Read and Record ซึ่งเป็นโครงการจิตอาสาผ่านช่องทางออนไลน์ เชิญชวนพนักงานฟอร์ดสร้างห้องสมุดออนไลน์จากการอ่านหนังสือเด็กในภาษาต่างๆ เพื่อส่งต่อให้แก่เด็กและเยาวชนกว่า 1.3 พันล้านคนทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากการปิดโรงเรียน

“พนักงานฟอร์ดคุ้นเคยกับการทำกิจกรรมจิตอาสาโดยการเป็นอาสาสมัครลงพื้นที่ช่วยเหลือสังคมเพื่อสร้างความแตกต่างในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้อยู่แล้ว” นางแมรี คัลเลอร์ ประธานกองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี กล่าว “แม้ในปัจจุบันหลายคนต้องอยู่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโคโรนาไวรัส แต่พนักงานของเรายังคงมองหาหนทางที่จะช่วยเหลือสังคมอยู่เสมอ โครงการใหม่ทั้งสองโครงการนี้ถือเป็นช่องทางสำคัญในการทำประโยชน์เพื่อสังคมและร่วมต่อสู้กับภัยจากโควิด-19 ในช่วงเวลานี้”

ทั้งนี้ การระดมทุนร่วมระหว่างกองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนีกับพนักงานฟอร์ด บริหารจัดการโดย GlobalGiving ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านการบรรเทาสาธารณภัยและการระดมทุนทั่วโลกของฟอร์ดมายาวนาน โดยวัตถุประสงค์ของโครงการคือการสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมในชุมชนต่างๆ ทั่วโลก ทั้งพื้นที่ที่ต้องการการสนับสนุนอย่างเร่งด่วนและในชุมชนที่พนักงานฟอร์ดทำงานและอยู่อาศัย โดยมุ่งเน้นการจัดหาอาหาร ที่อยู่อาศัยและการเดินทางให้กับผู้ที่ต้องการ การส่งมอบทรัพยากรทางการศึกษาและการจัดส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ในช่วงที่มีการแพร่กระบาดของโควิด-19 

ผู้สนใจร่วมบริจาคสามารถดูรายชื่อประเทศและโครงการในชุมชนต่างๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือภายใต้โครงการนี้ รวมถึงโครงการในประเทศไทย ได้ที่เว็บไซต์ www.globalgiving.org/ford-covid-response 

ก่อนหน้านี้ กองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ได้จัดสรรงบประมาณกว่า 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 52.7 ล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือชุมชนและสนับสนุนองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรท้องถิ่นต่างๆ ในรัฐมิชิแกนและทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อจัดหาอาหาร ที่อยู่อาศัย และการเดินทางให้กับผู้ที่ต้องการ ในช่วงที่มีการแพร่กระบาดของโควิด-19 และเมื่อต้นปีที่ผ่านมา กองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ยังร่วมกับฟอร์ด ประเทศจีน บริจาคหน้ากากและอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อในช่วงเริ่มต้นของการระบาดในประเทศจีน

นอกจากกองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี จะให้ความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือสังคมในระดับท้องถิ่นอย่างทันท่วงทีแล้ว ทั้งวิศวกร นักวิจัย และคู่ค้าของฟอร์ดในหลายประเทศ ยังมีส่วนร่วมในการออกแบบและผลิตหน้ากากคลุมหน้า เครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ ที่จำเป็นให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ที่ต้องสัมผัสผู้ป่วยและผู้ป่วยเพื่อต่อสู้กับโควิด-19 อีกด้วย