ฟอร์ดสนับสนุนสาธารณสุขสู้โควิด-19 มอบรถพยาบาลมาตรฐานสากล 10 คัน

By / 3 years ago / News / No Comments
ฟอร์ดสนับสนุนสาธารณสุขสู้โควิด-19 มอบรถพยาบาลมาตรฐานสากล 10 คัน

พัฒนาจากรถกระบะพันธุ์แกร่ง ฟอร์ด เรนเจอร์

ฟอร์ด ประเทศไทย และบริษัท เอส.เอส.เอส. ออโตโมทีฟ อินดัสทรี จำกัด ได้คำนึงถึงความเหมาะสมเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานจริง โดยเฉพาะการขนส่งผู้ป่วยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากมีการแบ่งกั้นห้องคนขับและห้องพยาบาล รวมถึงการแยกระบบเครื่องปรับกาศของห้องคนขับและห้องพยาบาลไม่ให้อากาศไหลเวียนปนกันเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคในละอองขนาดเล็ก ช่วยลดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการขนส่งผู้ป่วยและผู้มีอาการจากการติดเชื้อโควิด-19 

รถพยาบาล BACE รุ่น RESCUE T1 ประกอบด้วยตู้พยาบาลทรงสูง การออกแบบและผลิตได้ให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายแม้จะอยู่ในพื้นที่ขนาดกะทัดรัด เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวให้กับเจ้าหน้าที่ขณะดูแลและช่วยชีวิตผู้ป่วย โดยโครงสร้างของห้องพยาบาลทําจากเหล็กและอลูมิเนียมอัลลอย ผนังด้านหน้า ด้านซ้าย ด้านขวา และด้านบน ผลิตจากแผ่นไฟเบอร์กลาสคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ผนังทุกด้านสามารถรับแรงกด แรงดึง หรือแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้น แผ่นไฟเบอร์กลาสที่ใช้ทำผนังด้านในของห้องพยาบาลยังเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ในห้องผู้ป่วยวิกฤต (ICU) ของโรงพยาบาลในยุโรป มีคุณสมบัติป้องกันแบคทีเรียตามมาตรฐานระดับสากลทั้ง ISO 22196 และ JIS Z 2801 

ความสูงของห้องพยาบาลจากพื้นถึงเพดาน 155 เซนติเมตร ยังเพิ่มความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการปั๊มหัวใจฟื้นคืนชีพ (CPR) มีจุดยึดตรึงสําหรับแขวนตัวที่รับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 120 กิโลกรัม ช่วยให้สามารถยืนปฏิบัติการ CPR ได้สะดวก และด้วยความกว้างภายในถึง 170 เซนติเมตร ทำให้เพียงพอต่อการจัดวางที่นั่ง และการจัดวางเตียงพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินในลักษณะนอนราบ มีที่จัดเก็บอุปกรณ์การแพทย์และอุปกรณ์อื่นที่จําเป็นอย่างเป็นสัดส่วน เป็นระเบียบ และมีความปลอดภัย ป้องกันการหลุดร่วงจากที่จัดเก็บในกรณีที่รถมีการชนหรือกระแทก รวมถึงมีชุดแปลงไฟฟ้าจากกระแสตรง 12 โวลท์ เป็นกระแสสลับ 220 โวลท์ ขนาด 1,000 วัตต์ 50 เฮิร์สต์ เพื่อใช้กับเครื่องมือแพทย์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จําเป็นต่องานกู้ชีพ-กู้ภัย 

รถพยาบาล BACE รุ่น RESCUE T1 พัฒนาขึ้นจากรถกระบะฟอร์ด เรนเจอร์ แบบขับเคลื่อนสองล้อ มีการนำช่องต่อพ่วงอุปกรณ์ออฟโรด หรือ Upfitter switch ที่ติดตั้งในรถฟอร์ด เรนเจอร์ FX4 Max มาใช้ในรถแบบขับเคลื่อนสองล้อเป็นครั้งแรก เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ผู้ขับขี่ควบคุมการทำงานของไฟฉุกเฉินและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่จำเป็นได้สะดวกยิ่งขึ้น เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.2 ลิตร และเกียร์ธรรมดา 6 สปีด ให้กําลังเครื่องยนต์สูงสุด 160 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 385 นิวตันเมตร มีการติดตั้งอุปกรณ์และระบบต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ อาทิ ระบบบังคับเลี้ยวผ่อนแรงด้วยไฟฟ้าที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมรถได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น มีความสามารถในการทรงตัวได้ดี มีกล้องบันทึกเหตุการณ์ด้านหน้ารถและหลังรถขณะปฏิบัติงาน ติดตั้งเครื่องรับ-ส่งวิทยุระบบ VHF/FM ขนาด 25 วัตต์ มาพร้อมระบบป้องกันการดักฟังและระบบปรับคุณภาพสัญญาณเสียง 

เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ 

  • เตียงนอนโลหะผสม แบบมีล้อเข็น ปรับเป็นรถเข็นได้ จํานวน 1 เตียง ตัวเตียงและโครงทําจากโลหะผสม มีความแข็งแรงสามารถนวดหัวใจได้ทันที โดยไม่ต้องใช้แผ่นกระดานรองหลัง พนักพิงหลังเป็นระบบโช็คอัพ ช่วยยกตัวผู้ป่วยขึ้นลง ปรับระดับเอียงขึ้นได้ ด้านข้างมีที่เสียบเสาน้ำเกลือ พร้อมเสา ยึดติดกับ โครงเตียง
  • ชุดช่วยหายใจชนิดใช้มือบีบสําหรับเด็กและผู้ใหญ่ อย่างละ 1 ชุด ประกอบด้วย ถุงลมสําหรับบีบอากาศช่วยหายใจ ถุงสํารองออกซิเจนสําหรับเด็กและผู้ใหญ่จํานวนอย่างละ 1 ชิ้น หน้ากากครอบปากและจมูก และกล่องบรรจุอุปกรณ์การใช้งานทั้งหมด 
  • เครื่องส่องกล่องเสียง ผลิตจากผู้ผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ISO 13485 และเครื่องดูดของเหลวใช้กับไฟรถยนต์ อย่างละ 1 เครื่อง 
  • เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดติดผนัง จํานวน 1 เครื่อง แบบ Wall Aneraid ติดตั้งยึดติดผนังห้องรถปฏิบัติการ ลูกยางสําหรับอัดลมผ้าพันแขน พร้อมลิ้นปิด-เปิดสะดวกต่อการควบคุม พร้อมชุดหูฟังทางการแพทย์ (Stethoscope) จํานวน 1 ชุด 
  • ชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อน (Cervical Collar) จํานวน 1 ชิ้น สามารถปรับขนาดให้เหมาะสมกับลําคอผู้ป่วยได้ 
  • ชุดเฝือกลม (Vacuum Splint set) จํานวน 1 ชุด เป็นเฝือกแบบใช้สุญญากาศบริเวณแขน-ขา ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ โครงสร้างทําจากแผ่นพลาสติกสังเคราะห์ ภายในบรรจุเม็ดโฟม ซึ่งจะแข็งตัวเมื่อดูดลมออกและไม่บีบรัด ร่างกาย มีสายรัดแบบปะติด สําหรับใช้รัดหรือห่อชุดอุปกรณ์กับร่างกายแสงเอกซเรย์สามารถผ่านได้ 
  • ท่อบรรจุก๊าซออกซิเจน ระบบออกซิเจนแบบ Pipe Line และอุปกรณ์ให้ออกซิเจน ตามมาตรฐาน มอก. จํานวน 1 ชุด 
  • อุปกรณ์ดามหลังชนิดสั้น (Kendrick Extrication Device) จํานวน 1 ชุด สําหรับตามหลังผู้ได้รับบาดเจ็บที่ยังติดอยู่ในซากรถ หรือใช้ตามกระดูกเชิงกรานผู้ได้รับบาดเจ็บ ประกอบด้วย แท่งไม้ หรือวัสดุโปร่งแสง เรียงกันเป็นแผง เชื่อมต่อกันและหุ้มด้วยวัสดุหรือผ้าพลาสติกหรือหนังเทียม มีรูปทรงสอดคล้องกับร่างกายท่อนบน มีส่วนยื่นโอบรัดส่วน ศีรษะและส่วน มีหมอนสําหรับรองหลังศีรษะในกรณีเหลือช่องว่าง รับน้ำหนักได้สูงสุด 225 กิโลกรัม รังสี X-ray, MRI และ CT-Scan สามารผ่านทะลุได้ 
  • เก้าอี้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยชนิดพับเก็บได้ (Stair Chair) จํานวน 1 ตัวมี โครงสร้างทําจากอลูมิเนียมอัลลอย สามารถรับน้ำหนักผู้ป่วยได้ 159 กิโลกรัม ส่วนที่รองรับผู้ป่วยเป็นผ้าวัสดุสังเคราะห์อย่างดีแข็งแรง สามารถล้างทําความสะอาดได้ 
  • ชุดกระดานแข็งรองนอน (Long Spinal Board) พร้อมเข็มขัด จํานวน 1 ชุด แผ่นกระดานผลิตจากพลาสติกความหนาแน่นสูง HDPE รังสี X-ray และ CT-Scan สามารผ่านทะลุได้ 
  • กระเป๋าพยาบาล มีขนาดความกว้าง 36 เซนติเมตร ความยาว 62 เซนติเมตร ความสูง 30 เซนติเมตร