Warning: call_user_func_array() expects parameter 1 to be a valid callback, class '' not found in /home/misss/domains/missside.com/public_html/wp-includes/class-wp-hook.php on line 324 เรเว่ คอมเมอร์เชียล วีฮิเคิลส์ ส่งมอบรถบัสไฟฟ้า BYD แก่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม - missside.com

เรเว่ คอมเมอร์เชียล วีฮิเคิลส์ ส่งมอบรถบัสไฟฟ้า BYD แก่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

By / 6 months ago / EV ZONE, News / No Comments
เรเว่ คอมเมอร์เชียล วีฮิเคิลส์ ส่งมอบรถบัสไฟฟ้า BYD แก่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ เพื่อการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน

บริษัท เรเว่ คอมเมอร์เชียล วีฮิเคิลส์ จำกัด (Rêver Commercial Vehicles) ผู้แทนจำหน่ายโซลูชั่นด้านพลังงานสะอาด (Green energy หรือพลังงานไฟฟ้า) จาก BYD อย่างเป็นทางการ ตอกย้ำความเป็นผู้นำนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับอุตสาหกรรมและธุรกิจในประเทศไทย และความมุ่งมั่นในการนำยานยนต์พลังงานทางเลือกใหม่ (NEV: New Energy Vehicle) เข้าสู่ประเทศไทย เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืนและขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ ได้รับความไว้วางใจจาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการจัดหาและส่งมอบรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า BYD e-Bus Model : BC10A01 จำนวน 4 คัน เพื่อใช้รับ-ส่งนักเรียน นิสิต บุคลากร รวมถึงกิจการอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย ระหว่างเขตพื้นที่ขามเรียงและเขตพื้นที่ในเมือง (ม.เก่า) ตามนโยบายอนุรักษ์พลังงานที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ด้านการบริหารองค์กรเพื่อความเป็น “มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ” (Smart University) ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

            จากวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกันของเรเว่ คอมเมอร์เชียล วีฮิเคิลส์ ในการมีส่วนร่วมผลักดันประเทศไทยเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำด้วยการใช้พลังงานสะอาดและร่วมรณรงค์ให้ทุกคนใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าเพื่อช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้านการบริหารองค์กรเพื่อความเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart University) ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการเรียนรู้ รวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้รถโดยสารพลังงานไฟฟ้าทดแทนพลังงานจากน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ ในระบบขนส่งหลักภายในมหาวิทยาลัย จึงเป็นที่มาของการเลือกใช้รถบัสไฟฟ้าของ BYD ซึ่งผ่านการพิจารณาแล้วว่ามีประสิทธิภาพคุ้มค่า เหมาะสมตรงตามการใช้งานตามที่มหาวิทยาลัยต้องการ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 คน ความเร็วสูงสุด 70 กิโลเมตร/ชั่วโมง และมีระยะทางการวิ่งมากกว่า 250 กิโลเมตร/การชาร์จ 1 ครั้ง โดยเริ่มวิ่งให้บริการในมหาวิทยาลัยตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

            ในขณะนี้ นอกเหนือจากรถโดยสารส่วนบุคคลไฟฟ้าแล้ว รถโดยสารพลังงานไฟฟ้าและรถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์กำลังเป็นตลาดที่องค์กรต่างๆ รวมถึงผู้ประกอบการให้ความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และกำลังมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยจุดเด่นด้านต้นทุนการดำเนินงานในระยะยาวที่ต่ำกว่า รวมถึงค่าบำรุงรักษาเมื่อเทียบกับรถยนต์สันดาปทั่วไป อีกทั้งยังช่วยลดมลพิษ ทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษทางเสียง ยิ่งไปกว่านั้นยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของหน่วยงาน โดยแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและทางเลือกการขนส่งที่สะอาดยิ่งขึ้นด้วย