Warning: call_user_func_array() expects parameter 1 to be a valid callback, class '' not found in /home/misss/domains/missside.com/public_html/wp-includes/class-wp-hook.php on line 324 เอเอทีใส่ใจสิ่งแวดล้อม จับมือดับบลิวเอชเอ - missside.com

เอเอทีใส่ใจสิ่งแวดล้อม จับมือดับบลิวเอชเอ

By / 6 months ago / News / No Comments
เอเอทีใส่ใจสิ่งแวดล้อม จับมือดับบลิวเอชเอ

ต่อยอดทำโซลาร์ลอยน้ำ

ออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย (เอเอที) โรงงานร่วมทุนของฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี และมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ผู้ผลิตรถฟอร์ด เรนเจอร์ และฟอร์ด เอเวอเรสต์  เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปกว่า 130 ประเทศทั่วโลก ร่วมกับ บมจ. ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์     พาวเวอร์ (WHAUP) ลงนามในพิธีเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากโซลาร์ลอยน้ำ (Floating Solar) ขนาด 8  เมกะวัตต์ พื้นที่ติดตั้ง 60,000 ตารางเมตร บนบ่อน้ำดิบในนิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์น ซีบอร์ด จ.ระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่บริหารจัดการของ บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA Group) โดยระบบโซลาร์ลอยน้ำนี้ เป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ชนิดดับเบิ้ลกลาสบนทุ่นลอยน้ำที่ผลิตจากพลาสติกชนิด HDPE (High Density Polyethylene) ที่ ไม่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศใต้น้ำและสิ่งแวดล้อม ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ได้ภายในเดือนกันยายน 2567 และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นกว่า 5,400 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

การติดตั้งโซลารลอยน้ำครั้งนี้เป็นการผลักดันนโยบายรักษ์โลก ลดโลกร้อน และลดการเกิดภาวะเรือนกระจกของเอเอที ต่อยอดนโยบายการผลิตพลังงานใหม่เพื่อก้าวสู่การเป็นบริษัท RE 100 หรือ Renewable Energy 100% มุ่งผลิตและใช้พลังงานสะอาดทดแทนการใช้พลังงานจากฟอสซิล 100% ให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2578 ทั้งนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2564 โรงงานเอเอทีได้เริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลส์ขนาด 5 เมกะวัตต์ ที่ติดตั้งบนหลังคาโรงงานกว่า 45,000 ตารางเมตร ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศได้มากถึง 92,568 ตัน ในระยะเวลา 25 ปี หรือ 3,949 ตันต่อปี และได้ขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์ เซลล์บนหลังคาเพิ่มเติมอีก  1 เมกะวัตต์ ในปี 2566 ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศได้มากถึง 887 ตันต่อปี และหากโครงการโซลาร์ลอยน้ำนี้แล้วเสร็จ จะส่งผลให้โรงงานเอเอที มีการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวม 14 เมกะวัตต์